...ความมืดเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาคู่กับความสว่าง ความสว่างเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาควบคู่กับความร้อน ความอบอุ่นจากพลังงานที่ได้จากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นสิ่งที่ให้กำเนิดแก่โลก และดาวพระเคราะห์ต่างๆ ในสุริยจักรวาล ทั้งเป็นสิ่งที่ให้กำเนิดชีวิต และสร้างความเจริญงอกงามให้แก่พืช และสัตว์ในมนุษยโลกมาตั้งแต่ต้น ชีวิตของเรายกเว้นสัตว์ และพืชบางประเภทจะขาดแสงสว่างของดวงอาทิตย์ไม่ได้ ในตอนกลางคืน เมื่อสิ้นแสงอาทิตย์ ความมืดจะเกิดขึ้น ในบางโอกาส เราจะได้แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ซึ่งสะท้อนผ่านดวงจันทร์มายังโลกในวันข้างขึ้น และข้างแรมอ่อนๆ เมื่อโลกได้มีวิวัฒนาการ มนุษย์จึงได้คิดสร้างแสงสว่างจำลองขึ้นเพื่อใช้ทดแทนความสว่างของแสงอาทิตย์ที่หมดไปในเวลากลางคืน โดยการก่อกองเพลิงสุมไฟ และในโอกาสต่อมา ได้วิวัฒนาการโดยการสร้างเป็นประทีปที่ให้ความสว่างขึ้น อาทิ ไต้ เทียน ตะเกียง หลอดไฟฟ้า เป็นต้น ทุกชีวิตจะตื่นขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า และลงมือกระทำกิจกรรมต่างๆ ตาม ภารกิจหน้าที่ของตน และใช้เวลากลางคืนที่ปลอดจากความสว่างส่วนหนึ่งเพื่อการพักผ่อนหลับนอน
...ทั้งความสว่าง และความมืด จึงมีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชโดยตรง โดยเฉพาะมนุษย์ และสัตว์ที่มีสมอง มีจิตวิญญาณ ความสว่าง และความมืดได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างอารมณ์ให้แก่สัตว์โลกเหล่านี้ในรูปแบบต่างๆ มนุษย์ปุถุชนธรรมดาทั่วไปมีความพึงพอใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ในความสว่าง และความอบอุ่น ในเวลากลางคืนวันเพ็ญ พระจันทร์เต็มดวง ทุกชีวิต โดยเฉพาะชาย หญิงที่กำลังตกอยู่ในความรัก จะมีความสุข รื่นรมย์ กับธรรมชาติมากเป็นพิเศษ ไม่มีผู้ใดที่จะชอบความมืด เพราะความมืดเป็นอุปสรรคสำคัญ เป็นสิ่งที่ปิดบังทำให้เราไม่รู้เห็นในความถูกต้อง ความเป็นจริงซึ่งอยู่รอบตัวเรา เว้นแต่ผู้ที่มีจิตเจตนาจะก่ออกุศลกรรม ทำบาป ทำชั่ว เป็นผู้ประกอบมิจฉาชีพ เป็นอาชญากร จะพอใจที่จะอาศัยความมืดเป็นที่แอบแฝงกำบังในการประกอบกรรมชั่วของตน
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แจ้งเห็นจริงในแก่นแท้ที่สุดของความจริงในสภาวธรรมนี้ จึงได้ทรงสมมุตินามบัญญัติของสิ่งที่เป็นเสมือนกับความมืด ซึ่งปิดบังมิให้สัตว์โลกได้เห็นสภาวธรรมที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ว่า "อวิชชา" ซึ่งเป็นคำศัพท์บาลีแปลว่า "ความไม่รู้"
...ทั้งความสว่าง และความมืด จึงมีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชโดยตรง โดยเฉพาะมนุษย์ และสัตว์ที่มีสมอง มีจิตวิญญาณ ความสว่าง และความมืดได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างอารมณ์ให้แก่สัตว์โลกเหล่านี้ในรูปแบบต่างๆ มนุษย์ปุถุชนธรรมดาทั่วไปมีความพึงพอใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ในความสว่าง และความอบอุ่น ในเวลากลางคืนวันเพ็ญ พระจันทร์เต็มดวง ทุกชีวิต โดยเฉพาะชาย หญิงที่กำลังตกอยู่ในความรัก จะมีความสุข รื่นรมย์ กับธรรมชาติมากเป็นพิเศษ ไม่มีผู้ใดที่จะชอบความมืด เพราะความมืดเป็นอุปสรรคสำคัญ เป็นสิ่งที่ปิดบังทำให้เราไม่รู้เห็นในความถูกต้อง ความเป็นจริงซึ่งอยู่รอบตัวเรา เว้นแต่ผู้ที่มีจิตเจตนาจะก่ออกุศลกรรม ทำบาป ทำชั่ว เป็นผู้ประกอบมิจฉาชีพ เป็นอาชญากร จะพอใจที่จะอาศัยความมืดเป็นที่แอบแฝงกำบังในการประกอบกรรมชั่วของตน
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แจ้งเห็นจริงในแก่นแท้ที่สุดของความจริงในสภาวธรรมนี้ จึงได้ทรงสมมุตินามบัญญัติของสิ่งที่เป็นเสมือนกับความมืด ซึ่งปิดบังมิให้สัตว์โลกได้เห็นสภาวธรรมที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ว่า "อวิชชา" ซึ่งเป็นคำศัพท์บาลีแปลว่า "ความไม่รู้"
...อวิชชา มีอิทธิพลสำคัญยิ่งต่อจิตวิญญาณ เพราะเป็นกลไกที่จะโน้มนำจิต สร้าง เจตนาให้มีการก่อกรรมทำชั่วทั้งกาย วาจา และใจ ที่เจ้าของจิตกระทำไปเช่นนั้น เพราะเจ้าตัวขาดสติ ขาดปัญญา ไม่รู้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว สิ่งใดผิด สิ่งใดถูก ไม่รู้บาปบุญคุณโทษ ไม่มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป ซึ่งเป็นผลมาจากกิเลสสำคัญ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
อวิชชานี้เองที่เป็นปัจจัย เป็นต้นเหตุสำคัญที่เกื้อหนุน เอื้ออำนวยให้สัตว์โลกต้องวนเวียนมาเกิด ตายไม่มีที่สิ้นสุดเพื่อรับผล หรือ วิบากของกรรมที่ตนได้กระทำขึ้นเพราะความไม่รู้นั่นเอง พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงคำสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในหัวข้อเรื่อง "ปฏิจจสมุปบาท" ซึ่งอาจจะสมมุติบัญญัติเป็นภาษาง่ายๆว่า "วงจรการเกิดดับของชีวิต" ก็คงจะไม่ผิดนัก
จุดเชื่อมต่อของ "วงจรการเกิดดับของชีวิต"ดังกล่าว ที่ได้แสดงไว้ในพระอภิธรรมมีอยู่ ๑๒ จุดด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป …..ไปจนถึงชาติ ชรา มรณะ เป็นที่สุด แล้วจึงกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่ อวิชชา อีกครั้งหนึ่ง เป็นไปในลักษณะนี้ไม่มีที่สิ้นสุด
อวิชชานี้เองที่เป็นปัจจัย เป็นต้นเหตุสำคัญที่เกื้อหนุน เอื้ออำนวยให้สัตว์โลกต้องวนเวียนมาเกิด ตายไม่มีที่สิ้นสุดเพื่อรับผล หรือ วิบากของกรรมที่ตนได้กระทำขึ้นเพราะความไม่รู้นั่นเอง พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงคำสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในหัวข้อเรื่อง "ปฏิจจสมุปบาท" ซึ่งอาจจะสมมุติบัญญัติเป็นภาษาง่ายๆว่า "วงจรการเกิดดับของชีวิต" ก็คงจะไม่ผิดนัก
จุดเชื่อมต่อของ "วงจรการเกิดดับของชีวิต"ดังกล่าว ที่ได้แสดงไว้ในพระอภิธรรมมีอยู่ ๑๒ จุดด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป …..ไปจนถึงชาติ ชรา มรณะ เป็นที่สุด แล้วจึงกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่ อวิชชา อีกครั้งหนึ่ง เป็นไปในลักษณะนี้ไม่มีที่สิ้นสุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น