...ความตาย คือ การยุติ การทำหน้าที่ของวัยวะต่างๆของร่างกายลงอย่างสิ้นเชิง เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ที่ยังไม่มีมนุษย์หรือสัตว์ชนิดใดจะข้มพ้น ปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้ไปได้
...แม้ปัจจุบันนี้ วงการแพทย์มีความเจริญก้าหน้ามาก สามารถรักษา ซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อให้ทำหน้าที่ต่อ ไปได้ แต่ก็ทำได้เพียงช่วคราว พอไปถึงจุดหนึ่ง ก็ไม่สามารถจะแก้ไขต่อไปได้ก็จำเป็นต้องยุติการแก้ไข และชีวิตก็ถึงแก่ ความตาย
มองในแง่สัจธรรม ความตายเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของธรรมชาติที่เรียกว่า อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ ทนได้ยาก อนัตตา ไม่มีตัวตนแก่นสารที่เที่ยงแท้ถาวร ล้วนต้องเป็นไปตามกฎธรรมชาติ โดยไม่มีการต้านทานให้คงทนได้
...หากมองตามกระบวนการปฏิจจสมุปบาทที่ว่า การเกิดขึ้นของขันธ์ห้าครั้งหนึ่ง เป็นการเกิด ความตายก็ได้แก่ ความดับ ไปของของขันธ์ห้า ของแต่ละครั้ง ตามกฎแห่งอิทัปปัจจยตาที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น และเมื่อหมดเหตุปัจจัยก็ดับไป
..ชาวพุทธที่ปฏิบัติวิปัสสนาเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การเกิดดับ
..การเกิดขึ้น แห่งความรู้สึกว่า ตัวเรา ครั้งหนึ่ง นับเป็น การเกิดครั้งหนึ่ง
..เมื่อความรู้สึกว่า ตัวกู ดับไป นับเป็น ความตายครั้งหนึ่ง
..เมื่อไม่มีความรู้สึกว่า ตัวกู เกิดขึ้น ความตายก็ไม่มีเช่นกัน
..ความทุกข์จะเกิดขึ้นต่อเมื่อ มีความสำคัญมั่นหมายว่า การเกิดเป็นของเรา เราต้องเป็นอย่างนั้น เราต้องเป็นอย่างนี้ เมื่อความรู้สึกว่า ตัวเรา ของเราดับไป ความทุกข์ก็พลอยดับไปด้วย
..ความทุกข์จึงมิได้เกิดขึ้นเป็นประจำ แต่จะเกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราวเมื่อเกิดความสำคัญมั่นหมายว่า เราเป็นนั่นเป็นนี่
..กล่าวโดยย่อ ขันธ์ห้าที่มีอุปาทาน เป็นความทุกข์ ถ้าไม่มีอุปาทานก็ไม่มีทุกข์
..ขณะเดียวกันเมื่อสำคัญมั่นหมายว่า เราตาย หรือ ความตายเป็นของเรา แล้วเกิดความรู้สึกไม่อยากตายขึ้นมา ก็เป็น ความทุกข์
..เพราะความตาย เมื่อไม่มีความรู้สึกว่า ความตาย เป็นของเราก็ไม่มีความทุกข์เพราะความตาย
..จุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรมจึงอยู่ที่ความระมัดระวังไม่ให้มีการเกิด เมื่อไม่มีการเกิด ความตายก็จะไม่มี
...ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ฝ่ายร่างกายที่ปรากฏให้เห็นกันอยู่โดยทั่วไป แท้จริง มิใช่ของเรา เป็น ของธรรมชาติ ที่กำลัง เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ควบคุมโดยกฎธรรมชาติเท่านั้น
..เมื่อทำหน้าที่ด้วยใจบริสุทธิ์ หยุดเกิดหยุดตาย ด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา ก็เรียกว่านิพพาน คือ ความเย็น
โดย.....ดร.พระมหาจรรยา สุทธิญาโณ
จากเวปไซด์ http://www.siammedia.org/articles/dhamma/20080815.php
2551-08-26
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น